มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จัดงานมหกรรม Energy & IOT & Zero Waste 3 ประสานด้านเทคโนโลยีเพื่อชีวิต พลังงานทดแทน เกษตรกรรมอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อม

***มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จัดงานมหกรรม Energy & IOT & Zero Waste 3 ประสานด้านเทคโนโลยีเพื่อชีวิต พลังงานทดแทน เกษตรกรรมอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อม
***นายชัยฤกษ์ ยะปะนันท์ ปลัดอำเภอร้องกวาง รักษาราชการแทน นายอำเภอร้องกวาง เป็นประธานเปิดงาน มหกรรม Energy & IOT & Zero Waste และประกวดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โครงการ: “ส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน และระบบ IOT ร่วมกับการบริหารจัดการวัสดุชีวมวลเพื่อลดปัญหาหมอกควัน ช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ” กิจกรรม: “ติดตามผลการดำเนินโครงการฯ และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ” โดยมี ดร.เกศินี วีรศิลป์ รองคณบดื่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ กล่าวรายงาน ณ โรงอาหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่เฉลิมพระเกียรติ
***ภาคเกษตรกรรมของโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนจากเกษตรกรรมที่พึ่งพาสารเคมี สู่การเกษตรแบบชีววิทยาสังเคราะห์ และ 2) การเปลี่ยนจากเกษตรกลางแจ้ง ซึ่งเป็นเกษตรแบบดั้งเดิม ที่ต้องอาศัยสภาพดิน สู่เกษตรในร่ม ที่ทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ในสิ่งปลูกสร้างที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม การทำเกษตรในแนวดิ่ง การทำฟาร์มในเมืองเพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารได้เอง ภาคเกษตรต้องใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้นที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้ระบบ”อัตโนมัติถูกนำเข้ามาใช้ทดแทน แรงงานคนในปัจจุบันกำลังลดลง ภาคการเกษตรของไทยต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่การทำเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรอัจฉริยะ และเน้นการสร้างผลผลิตทางการเกษตรคุณภาพ ด้วยการปรับรูปแบบการผลิตโดยอาศัย เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ แต่ในการทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ (Smart Farming) ยังต้องคำนึงถึงต้นทุนทางด้านพลังงาน ซึ่งในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ที่จะใช้พลังงานทดแทนต่าง ๆ อาทิเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ เป็นต้น ซึ่งพลังงานทดแทนต่าง ๆ เหล่านี้ บางอย่างต้องใช้พื้นที่ร่วมกับการทำการเกษตร พลังงานทดแทนที่กำลังเป็นที่น่าสนใจของทุกภาคส่วน คือ พลังงานแสงอาทิตย์ โดยการสร้างโซล่าฟาร์มในพื้นที่ทำการเกษตร และต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก ซึ่งจะทำให้สามารถได้ทั้งพลังงานและผลผลิตทางการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีพันธกิจหลักในด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ อดทน สู้งาน ดังนั้น นอกจากภาระงานด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังมีภาระงานด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม อีกด้วย โดยการนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาบริการวิชาการ หรือนำมาถ่ายทอดสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ถือเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านพื้นที่ บุคลากร และมีความต้องการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยในด้านระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ โดยการ”ส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบ การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน และระบบ IOT ร่วมกับการบริหารจัดการวัสดุชีวมวลเพื่อยกระดับภาคการเกษตรและเร่งพัฒนาผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงปัญหา การใช้ประโยชน์และสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในการทำการเกษตรโดยใช้ระบบบ IOT ลดต้นทุนด้านพลังงานด้วยการใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ลดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยการทำผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ซึ่งจะช่วยในการเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ ลดการเผาในพื้นที่โล่งและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จึงจัดให้มีงานมหกรรม Energy & IOT & Zero Waste และประกวดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใสใจสิ่งแวดล้อมขึ้นในวันนี้ ซึ่ง กิจกรรม ประกอบด้วย การประกวดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม การจัดนิทรรศการแสดงสินค้าและจัดจำหน่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน นิทรรศการ การประยุกต์ใช้โซล่าเซลล์ในระบบการเกษตร การนำระบบ IOT เข้ามาประยุกต์ใช้กับโซล่าเซลล์